วิกฤตความเชื่อมั่นแบงก์ เงินถูกดูด ข้อมูลถูกขาย

เกิดอะไรขึ้นกับระบบธนาคาร อยู่ดี ๆ เงินถูกหักจากบัญชีแบบรัว ๆ โดยไม่รู้ตัวแถมข้อมูลลูกค้าธนาคารบางคนยังถูกเอาข้อมูลไปขายให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แล้วเรายังจะเชื่อใจฝากเงินกับธนาคารได้อยู่มั้ยวันนี้ Money Trick มาชวนคุยเรื่องนี้กัน

ที่ชวนคุยเรื่องนี้ไม่ได้อยากให้ทุกคนตกใจ แต่อยากให้ทุกคน "เช็คให้ชัวร์" ว่าบัญชีธนาคารของเรายังปลอดภัยดีเงินที่เก็บออมสะสมมาเอาไปฝากไว้ในธนาคารยังอยู่ครบมั้ยเพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ามีหลายเหตุการณ์ที่กระทบกับความเชื่อมั่นลูกค้าธนาคารอย่างมาก

ประเทศไทย กำลังเงินฝืด? คนไม่อยากใช้เงิน? ของถูกลง?

สมาคมแบงก์ เร่งปราบเจ้าหน้าที่ลักลอบขายข้อมูลลูกค้า

เจาะลึกภาษีที่ดินการเกษตร พร้อมทริคทำที่รกร้างให้มีมูลค่า

เหตุการณ์ล่าสุดที่พึ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆกับเจ้าของบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งที่อยู่ ๆก็ถูกหักเงินผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคารมียอดทำรายการผิดสังเกตุหักเงินออกจากบัญชีแบบรัว ๆ ไปหลายสิบครั้งทุก ๆ 1 นาทีถูกหักเงิน33 บาท28 สตางค์ โดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้เป็นคนทำธุรกรรมในโซเชียล มีคนมาแสดงความเห็นและเจอเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันหลายคนและจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้หลายคนรีบเปิดแอปฯ ธนาคารเช็คยอดเงินในบัญชีกันทันที ภายหลังธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ TTBก็ออกมาชี้แจงและเร่งตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมยินดีคืนเงินให้กับลูกค้าภายใน 5 วันหากยืนยันได้ว่าไม่ได้ทำธุรกรรม

ส่วนอีกเหตุการณ์ตำรวจไซเบอร์บุกไปจับกุมหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อสถาบันการเงินแห่งหนึ่งหลังสืบทราบว่ามีการนำข้อมูลลูกค้าไปขายให้กับตัวแทนสินเชื่อ ตัวแทนประกัน และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผู้ต้องหารับสารภาพว่าเก็บข้อมูลลูกค้าจากการจดบันทึกและจัดทำเป็นไฟล์เอกสาร ทยอยนำออกมาขายประมาณครั้งละ 3,000-5,000 รายชื่อ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีเครดิตดี แต่ที่น่าเจ็บใจกว่านั้นก็คือ ผู้ต้องหารายนี้นำเอาข้อมูลลูกค้าไปในราคาเพียงรายชื่อละ 1 บาทเท่านั้น

เรื่องนี้ทำให้หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคารอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ สั่งตรวจสอบทั้ง 2 เคสอย่างเร่งด่วนในกรณีที่เงินลูกค้าถูกดูดหายไปจากบัญชีหากเป็นข้อผิดพลาดจากระบบธนาคารธนาคารต้องรับผิดชอบ โดยการถูกโจรกรรมลักษณะนี้เรียกว่าBin Attack ถือเป็นภัยไซเบอร์ที่ระบบธนาคารเจอบ่อยแม้จะพยายามหาวิธีป้องกันแต่มิจฉาชีพก็พัฒนาอยู่ตลอดเช่นกัน

ส่วนกรณีที่พนักงานธนาคารนำข้อมูลลูกค้าไปขายต้องแยกเป็น 2 กรณี กรณีแรกต้องตรวจสอบว่าข้อมูลที่หลุดไปเป็นการหลุดจากระบบหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วข้อมูลของลูกค้าต้องได้รับการควบคุมดูแลขั้นสูงสุดมีการกำหนดสิทธิ์ผู้สามารถเข้าถึงข้อมูล ต้องตรวจสอบว่ามีการปล่อยให้คนไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลลูกค้าหรือไม่ถ้าข้อมูลรั่วจากพนักงานทุจริต เช่นไปจดชื่อและข้อมูลของลูกค้าจากการไปออกบูธงานนอกสถานที่ธนาคาร ก็มีกระบวนการในการตรวจสอบและควบคุมดูแลอยู่แล้วหากมาจากตัวเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ต้องถูกไล่ออกและดำเนินคดี

นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ลูกค้าธนาคารต้องลุ้นกันทุกสิ้นเดือนคือปัญหาแอปฯ ธนาคารล่มแบงก์ชาติก็ออกมาเปิดเผยสถิติตลอดทั้งปี 2566 ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ของไทยแอปล่มรวมทั้งหมด 18 ครั้งธนาคารไทยพาณิชย์แอปฯล่มมากที่สุดถึง 6 ครั้ง รวม 4 ชั่วโมง รองลงมาธนาคารกรุงเทพ ล่ม 4 ครั้ง รวม6-7 ชั่วโมง และธนาคารทหารไทยธนชาต ล่ม 3 ครั้ง รวม 3-4 ชั่วโมง

พลอากาศตรีอมรชมเชยเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติหรือ สกมช.เล่าให้ฟังถึงระบบหลังบ้านของธนาคารบ้านเรายังมีความปลอดภัยเพราะนอกจากตัวธนาคารแล้วยังมีหน่วยงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จะร่วมกับสมาคมธนาคารไทยคอยร่วมกันประเมินและเฝ้าระวังภัยคุกคาทางไซเบอร์ หากมีปัญหาระบบสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปได้อยู่แล้วไม่ต้องกังวล

ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยังแนะนำลูกค้าธนาคารอุดความเสี่ยง หากสงสัยว่าข้อมูลของตัวเองจะหลุดไปอยู่ในมือมิจฉาชีพปฏิเสธการรับสายหรือการสนทนากับบุคคลที่ไม่รู้จักแยกบัญชีที่ใช้จ่ายผ่านแอปธนาคารกับบัญชีที่ใช้เก็บออมเงินจำนวนมากเพื่อลดความเสี่ยง

ส่วนฝั่งธนาคารเองก็ต้องมีมาตรการป้องกันเชิงรุก หากพบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติก็จะต้องมีการแจ้งเตือนเจ้าของบัญชีทันที เหมือนผู้ให้บริการบัตรเครดิตที่จะแจ้งเตือนกลับมายังลูกค้า และระงับบัตรทันทีผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้บอกว่าฝั่งธนาคารอาจจะยังช้าอยู่ยังต้องพัฒนาระบบนี้เพิ่มเพื่อป้องกันความเสียหายให้กับลูกค้าได้ทันที

ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร

“เนย ปภาดา” ประกาศเลิกสามี ยุติชีวิตคู่หลังแต่ง 2 ปี คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

วิกฤตความเชื่อมั่นแบงก์  เงินถูกดูด  ข้อมูลถูกขาย

เปิดภาพเรือหลวงสุโขทัย ไทย-สหรัฐฯ ปฏิบัติค้นหา-ปลดวัตถุอันตราย

By admin

Related Post