เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2566 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดเผยผลการสำรวจในประเด็น "คุณสนับสนุนให้มีโครงการเงินดิจิทัล 10000 บาทหรือไม่?" โดยสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 23 ต.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2566 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 1,158 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 พบว่า
"ฟิว อธิวัฒน์" คว้าทองพร้อมทุบสถิติ วีลแชร์ 400 ม.
โฆษกฯ แจงเงินดิจิทัลวอลเล็ต ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์รอบด้าน
ร้อยละ 49.53 ระบุว่า "สนับสนุน หากสามารถทำได้โดยไม่ต้องกู้เงิน" ร้อยละ 33.86 ระบุว่า "สนับสนุน แม้ต้องกู้เงินมาทำก็ตาม" ร้อยละ 12.09 ระบุว่า "ไม่สนับสนุน ไม่ว่าจะกู้หรือไม่กู้เงินมาทำก็ตาม" และ ร้อยละ 4.52 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”
โดยเส้นของระดับรายได้ที่มีแนวโน้มสนับสนุนโครงการฯ อยู่ที่ผู้มีรายได้น้อยกว่า 45,000 บาท และแบ่งผู้สนับสนุน/ไม่สนับสนุนโครงการฯ ตามผู้สนับสนุนพรรคต่าง ๆ (ระบุว่าได้เลือกพรรคดังกล่าวในการเลือกตั้ง 2566) ได้ดังนี้
สนับสนุน หากไม่กู้, สนับสนุน แม้ต้องกู้, ไม่สนับสนุน ก้าวไกล: 53.32%, 33.90%, 8.51% เพื่อไทย: 50.59%, 38.79%, 7.86% ภูมิใจไทย: 46.28%, 41.45%, 4.45% พลังประชารัฐ: 50.17%, 42.10%, 2.45% รวมไทยสร้างชาติ: 49.66%, 13.48%, 36.86% ประชาธิปัตย์: 31.61%, 43.07%, 21.16%
สำหรับคำถามในประเด็น "คุณอยากใช้เงินดิจิทัล 10000 บาท ทำอะไรมากที่สุด?" โดยผู้ตอบให้ความเห็นได้ตามความคิด แม้รัฐบาลจะไม่ได้ประกาศว่าให้ใช้ในประเภทนั้นหรือไม่ก็ตาม และเลือกได้สูงสุด 3 ข้อ พบว่า
ร้อยละ 56.14 ระบุว่า "ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหาร จ่ายค่าน้ำค่าไฟ" ร้อยละ 39.32 ระบุว่า "ชำระหนี้" ร้อยละ 30.75 ระบุว่า "ซื้อของที่อยากได้" ร้อยละ 23.24 ระบุว่า "ลงทุน หรือสร้างธุรกิจ" ร้อยละ 18.91 ระบุว่า "นำเงินดิจิทัลไปแลกเป็นเงินสด (แม้จะต้องถูกเก็บค่าแลกก็ตาม)" ร้อยละ 16.36 ระบุว่า “ซื้ออุปกรณ์ทำงาน เช่น ปุ๋ย เครื่องจักร คอมพิวเตอร์” ร้อยละ 8.74 ระบุว่า “ท่องเที่ยว” และ ร้อยละ 6.50 ระบุว่า “รวมเงินกับคนอื่น ๆ มาพัฒนาชุมชน เช่น สร้างแหล่งน้ำ”
สำหรับคำถามในประเด็น "หากรัฐเปิดให้นำเงิน 10,000 ของคุณไปรวมกับคนอื่น บางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ เพื่อให้ได้ก้อนที่ใหญ่มากขึ้นได้ คุณมีแนวโน้มจะทำหรือไม่?"
ร้อยละ 40.23 ระบุว่า "ทำ จะรวมกับครอบครัว เช่น นำไปสร้างธุรกิจ สร้างบ้าน" ร้อยละ 21.97 ระบุว่า "ไม่ทำ จะใช้คนเดียว" ร้อยละ 15.54 ระบุว่า "ทำ จะรวมกันภายในชุมชน เช่น นำไปทำโครงการในชุมชน สร้างวิสาหกิจชุมชน" ร้อยละ 14.96 ระบุว่า "ทำ จะรวมกับเพื่อนหรือหุ้นส่วน เช่น นำไปสร้างธุรกิจ" และ ร้อยละ 7.31 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”
ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักโพลศรีปทุม-ดีโหวต ชี้ว่าจุดเริ่มต้นความสำเร็จของโครงการรัฐบาลคือการฟังเสียงและตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของประชาชนแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นแนวทางที่อาจสามารถลดปริมาณการกู้ได้ เช่น การแบ่งเฟส โดยให้เฟสแรกเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่า 40,000-50,000 บาท เพราะคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่ขาด และทำให้เกิดตัวคูณทางเศรษฐกิจก่อนได้ระดับหนึ่ง และเฟสสองให้กลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า โดยกลุ่มนี้อาจกำหนดหรือสนับสนุนให้ใช้ในการลงทุนหรือการรวมกลุ่มกัน เพื่อลดการใช้จ่ายกับสิ่งที่หาซื้อได้อยู่แล้วจนกลายเป็นเพียงการออมเงินที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงการวัดผลตัวคูณทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ สามารถทำได้ง่ายและโปร่งใส